วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

power grid [6]

                                           power grid



แนวเกมคือ เราซึ่งผู้สัมปาทานการไฟฟ้าจากรัฐ จะต้องได้มอบหมายให้จ่ายกนะแสไฟฟ้าให้มากที่สุดซึ่งไม่ใช่มีเพียงเรานเดียวที่ได้รัปสัมปทานนี้ แต่ผู้อื่นก็เช่นกันท้ายที่สุดใครกันที่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อทำให้ชาติรัฐของตนมีไฟฟ้าใช้มากที่สุด

วิธีและกฎการเล่น
วิธีและกฎการเล่น
เอาหละ เราเข้าเรื่องวิธีการเล่นซึ่งจากนี้ ผมจะอธิบายแบบละเอียดยิบ เผื่อว่าใครสนใจจะหาซื้อเล่นเองหรือ จะไปเล่นออนไลน์จะได้เล่นสะดวกๆครับ

กฎของเกมนี้แม้จะยุ่งยากสักหน่อย แต่ขอรับรองว่ามันส์ เกมนี้แบ่งเป็น 3 Step (3 ช่วง) แต่ละ Step จะดำเนินเกมต่างกันไปเล็กน้อย และการเปลี่ยน Step ก็ต่างกันไปอีก ซึ่งน่าอัศจรรย์มากตรงที่ว่าการดำเนินของลื่นไหลอย่างน่าประหลาด


จุดประสงค์ของเกม ผู้ที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้จำนวนเมืองมากที่สุดเมื่อจบเกมจะเป็นผู้ชนะ

เกมนี้จะแบ่งช่วงการเล่นออกเป็น STEP  PHASE และ TURN

STEP เกมนึงจะเล่นกัน 3 Step ซึ่งเราสมมติได้ว่าเป็น ช่วงเวลาที่มีป้อนแหล่งพลังงานประเภทต่างๆไม่เท่ากัน หรืออาจเปรียบได้เป็น อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ก็ได้ ซึ่งแต่ละช่วงจะมีความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างโรงจ่ายไฟ(บ้าน) และรูปแบบการเติมทรัพยากรเข้าตลาด (เกิดใน phase5) ซึ่งจะขอกล่าวภายหลังด้านล่าง
PHASE ตลอดการเล่น จะมี 5 Phase ได้แก่
1.     จัดลำดับผู้เล่นที่เล่นก่อนหลัง (Determine Turn Order)
2.     ประมูลซื้อโรงไฟฟ้า
3.     ซื้อทรัพยากรพลังงาน (ซื้อวัตถุดิบ) 
4.     วางจุดจ่ายไฟฟ้า (สร้างบ้าน)
5.     เก็บค่าไฟฟ้า และการจัดการอื่นๆ
ซึ่งลำดับของ Phase จะมีเขียนในใบรวมกฎอย่างย่อ และด้านหลังจะมีรายการบอกว่าค่าไฟฟ้าที่ได้รับจากจำนวนเมือง(บ้าน) ที่ได้จ่ายไฟฟ้าไปใน Phase5
TURN ตาเล่นของแต่ละผู้เล่น โดยจะจัดลำดับผู้เล่นใหม่ทุกครั้งใน Phase1
SETUP
เริ่มเล่นโดยแจกคนละ 50 Elecktro

จัดวางทรัพยากรตามรูป (รูปนี้มีในคู่มือการเล่นอยู่แล้ว)


















จากนั้นให้ผู้เล่นทุกคนเลือก area ของ map ที่จะเล่น โดย map จะมี 6 area แบ่งเป็น 6 สี ถ้าเล่น 4 ก็เลือกมา 4 พื้นที่ เพราะเหตุนี้จะต้องมีพื้นที่ในแผนที่บางส่วนไม่ได้ถูกเล่นจนจบเกม การเลือกพื้นที่ ให้สุ่มคนแรกออกมาเลือกที่ไหนก็ได้ แล้วสุ่มคนที่สองเลือก area ที่2 โดยมีข้อจำกัดว่าต้องติดกับพื้นที่ที่ถูกเลือกมาแล้ว (คือกฎนี้มีไว้เพื่อให้แผนที่ที่ถูกเล่นจะต้องติดต่อกันตลอด)

วางการ์ดโรงไฟฟ้าที่จะใช้ประมูลเป็น 2 แถว แถวละ 4 โรงงาน โดยตอนเริ่มบังคับให้วางโรงงานหมาย 3,4,5,6,7,8,9 และ 10 ตามรูป แยกโรงไฟฟ้าหมายเลข 13 และ การ์ด Step3 ออกมา พร้อมกับสับกองการ์ดโรงงานที่เหลือ แล้วเอาการ์ดหมายเลข 13 โปะบน และ การ์ด Step3 โปะล่าง

การวางการ์ดโรงไฟฟ้าที่ต้องแยกออกมาก่อน

การวางการ์ดโรงไฟฟ้าพร้อมเริ่มเล่น(เอาโรงไฟฟ้า 13 โปะบน เอาการ์ด Step3 โปะล่าง)


เอาบ้านมาคนละสองหลังวางไว้ อันหนึ่งไว้ที่ตำแหน่งมุมบนขวาของกระดาน เพื่อเป็นตัวระบุลำดับการเล่น (turn order) แล้วสุ่มว่าใครจะได้เล่นก่อนหรือหลังในตาแรก และอีกอันวางไว้ที่ฝั่งหนึ่งของด้านบนเพื่อเป็นตัวระบุเพื่อช่วยจำว่าผู้เล่นคนไหนมีจำนวนเมืองที่ได้ทำการเชื่อมต่อ (ซึ่งจากนี้ จะเรียกว่าจำนวนบ้าน เพื่อความสะดวกของคนเขียน) 

มารู้จักโรงไฟฟ้ากันดีกว่า
ก่อนที่ดูวิธีการเล่นในแต่ละ Phase ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรีวิวครั้งนี้ เรามารู้จักโลกแห่ง Power Grid นั่นก็คือ โรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้า และก็โรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าในเกม Power Grid นี้แบ่งเป็น 6 ประเภทตามประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่

·         โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
·         โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
·         โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง
·         โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งใช้ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิง
·         โรงไฟฟ้าลูกผสม (Hybrid) ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งถ่านหิน และน้ำมัน
·         โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ไม่ต้องใช้วัตถุดิบใดๆเพื่อปั่นไฟฟ้า
เกี่ยวกับการ์ดโรงไฟฟ้าจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนวัตถุดิบที่ต้องใช้ปั่นไฟฟ้าในแต่ละครั้ง และจำนวนเมือง(จำนวนบ้าน)ที่สามารถรับไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าหนึ่งครั้ง

ตัวอย่าง

·         โรงไฟฟ้าหมายเลข22 เป็นโรงไฟฟ้าพลังลม(ดูจากรูป) ไม่ต้องใช้วัตถุดิบ ผลิตไฟฟ้าส่งได้ 2 เมือง
·         โรงไฟฟ้าหมายเลข28 เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้ ยูเรเนียม 1 หน่วย ผลิตไฟฟ้าได้ส่งได้ 4 เมือง

การเล่นในแต่ละ Phase
Phase1 ยกเว้นตาแรกซึ่งจะทำอย่างสุ่ม เฟสนี้ให้คนที่มีบ้านมากที่สุดถูกระบุเป็นเบอร์1 (เรื่องบ้านลงไปดูได้ใน Phase3) แล้วเรียงตามลำดับจนครบ หากมีจำนวนบ้านเท่ากัน ให้ดูหมายเลขของโรงไฟฟ้าที่มี ใครมีตัวเลขมากกว่า ได้เริ่มก่อน (ไม่มีทางเท่ากันเพราะโรงไฟฟ้าทั้ง 48 โรง มีตัวเลขต่างกันหมดและแต่ละหลังจะถูกเป็นเจ้าของได้คนเดียว)
การจัดลำดับผู้เล่น รูปหลังบอกว่าสีดำจะได้เล่นก่อน


Phase2 การประมูลซื้อโรงไฟฟ้า ให้แต่ละคนสามารถประมูลซื้อโรงไฟฟ้าได้ โดยมีหลักว่าอยู่ 1 คนสามารถได้โรงไฟฟ้าใหม่เพียง 1 โรงงานในรอบนั้นๆ
โรงไฟฟ้าที่มีให้ประมูลนั้นจะมี 2 แถวแถวละ 4 โรง โดยแถวบนจะเรียกว่า "Actual Market" ส่วนแถวล่างจะเรียกว่า "Future Market" อารมณ์ประมาณว่าตอนนี้มีโรงไฟฟ้าให้เลือกซื้ออยู่ 4 โรง และเรายังจะรู้อีกว่ามีอีก 4 โรง(Actual Technology) ที่จะสามารถทำการซื้อหามาได้ในอนาคต(Future Technology) ฉะนั้นการเรียกโรงไฟฟ้าที่จะประมูลได้ จะเรียกประมูลได้เฉพาะโรงไฟฟ้าที่เป็น Actual Market เท่านั้น

จากรูปตอนเริ่มเล่นโรงไฟฟ้าเบอร์ 3-6 เป็น Actual Market นำมาประมูลได้ ที่เหลือต้องรอไปก่อน
วิธีการเรียกประมูล ให้คนที่อยู่อันดับแรกสุด เป็นผู้เปิดประมูลก่อน โดยตั้งราคาเริ่มต้นเท่าไรก็ได้แต่อย่างน้อยต้องเท่ากับตัวเลขบนการ์ดโรงไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าลข 4 ราคาต่ำของการเริ่มประมูล คือ 4 การประมูลก็ให้คนในลำดับถัดไปตามการจัดลำดับใน Phase1 จะต้องเกทับไปเรื่อยๆ คนที่ไม่ยอมเกจะถูกตัดออกจากการประมูล จนมีคนชนะการประมูลไป
หากการประมูลรอบแรกจบลง โดยคนที่เรียกประมูลคนแรก สมมติว่าเป็นสีดำ ยังไม่ได้โรงไฟฟ้า คนเล่นสีดำยังเป็นคนที่ต้องเลือกโรงไฟฟ้าที่จะประมูลอันต่อไป และคนที่ได้โรงไฟฟ้าไปแล้วจะไม่สามารถเข้าร่วมการประมูลได้อีกในรอบนี้(รอบใหม่เริ่มที่ Phase1) และถ้าสีดำซึ่งเป็นคนแรกสุด ได้โรงไฟฟ้าไปแล้ว ก็จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมูลครั้งต่อไป จากนั้นก็จะให้คนที่มีอันดับรองลงมา สมมติตามรูปข้างบนนู่นก็คือสีน้ำเงิน ผู้เล่นสีน้ำเงินก็จะเป็นผู้เลือกโรงไฟฟ้ามาประมูลต่อไปนั่นเอง ทำไปจนกว่าผู้เล่นคนสุดท้ายประมูลเอาโรงไฟฟ้าไปหรือสละสิทธิ์ไม่ขอเลือกโรงไฟฟ้าก็จะจบ Phase2
เมื่อถึงตาใครที่จะต้องเรียกประมูล และกลับไม่ยอมเลือกคนนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การซื้อโรงไฟฟ้าใน Phase2 นี้ทันที่ (รอรอบหน้านะจ๊ะ) สมมติว่าตาของสีน้ำเงินต้องเลือกโรงไฟฟ้ามาประมูลกัน แต่สีน้ำเงินไม่เลือก สีน้ำเงินจะไม่สามารถประมูลซื้อโรงไฟฟ้าใดในรอบนี้

สมมติตัวอย่างการประมูล เพื่อให้เห็นภาพว่าตอนเล่นจะมันส์ยังไง เอาหละ สมมติลำดับ(ก็ตามรูปข้างบนนั่นแหละ) เรียงไปโดยอันดับ1 คือ สีดำ อันดับ2 คือ สีน้ำเงิน ตามมาด้วย แดง เขียว เหลือง และม่วง เริ่มที่สีดำ สมมติว่าเขาเลือกโรงไฟฟ้าหมายเลข4 ดังรูป การประมูลเริ่มขึ้นโดยสีดำ จะตั้งราคาเริ่มต้น แน่นอนว่าห้ามต่ำกว่า4 ดำก็เริ่มเรียกที่ 4 Elektro โดนเขียวเกที่ 5 Elektro ม่วงเกทับไปที่ 7 Elektro ........ สุดท้ายสีดำเกทับไปอีก 12 Elektro ซึ่งไม่มีใครให้ราคาที่สูงกว่านี้ โรงไฟฟ้าหมายเลข4 จึงตกเป็นของสีดำ



พอประมูลเสร็จสีดำก็เอาโรงไฟฟ้าหมายเลข4 มาครอบครอง จากนี้ก็เหลือโรงไฟฟ้าแค่ 7 โรง แต่ก่อนที่คนต่อไปจะเรียกประมูลก็ให้เอาโรงไฟฟ้าจากกองจั่วมาเปิดออกแล้วเรียง สมมติได้โรงไฟฟ้าหมายเลข13 ก็เรียงตามลำดับเลข แล้วโรงไฟฟ้า 4 โรงบนเท่านั้นที่จะสามารถนำมาประมูลได้ (4 โรงบนอยู่ใน Actual Market 4 โรงล่างอยู่ใน Future Market)


ในการเล่น Phase2 ในรอบถัดๆไป เราจะได้โรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เราสามารถครอบครองโรงไฟฟ้าได้แค่ 3 โรงเท่านั้น หากได้โรงที่4 มา ให้เราทำการพังโรงไฟฟ้าของเราทิ้ง 1 โรง (ขายต่อไม่ได้นะ :p) โดยจะเป็นโรงเก่าหรือโรงใหม่ที่เพิ่งได้มาก็ได้ สำหรับวัตถุดิบที่มีค้างในโรงงานที่จะพังสามารถย้ายไปเก็บที่โรงงานอื่นได้ทันทีตราบเท่าที่ไม่เกินโควต้าซึ่งจะอธิบายใน Phase3
Phase3 ซื้อวัตถุดิบ หรือทรัพยากรพลังงาน เราสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าโรงไฟฟ้าได้ใน Phase นี้ โดยประเภทวัตถุดิบจะซื้อได้ จะถูกจำกัดตามโรงงานที่เรามี และสามารถซื้อเก็บได้แค่ 2 เท่าของที่จะใช้เท่านั้น เช่น โรงงานหมายเลข26 ผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมัน 2 หน่วย เราสามารถเก็บน้ำมันไว้ที่โรงงานนี้ได้ถึง 4 หน่วยใน Phase นี้ (แน่นอนว่ารวมของเก่าที่มีต้องไม่เกิน4) หรือโรงไฟฟ้าหมายเลข8 ผลิตด้วยถ่านหิน 3 หน่วย เราก็สามารถกักตุนถ่านหินได้ถึง 6 หน่วย
โรงไฟฟ้าหมายเลข26และหมายเลข8

การซื้อวัตถุดิบนั้นให้คนที่อยู่อันดับสุดท้ายเลือกซื้อก่อนและทำไปจนถึงคนที่อยู่อันดับแรกสุด ราคาของวัตถุดิบจะถูกกำหนดราคาตามช่องของวัตถุดิบ ซึ่งกลไกของเกมจะกำหนดไว้เลย ถ้ามีมากราคาจะถูก ถ้ามีน้อยราคาจะแพง ถ้าสมมติให้การเรียงคือ ดำ-น้ำเงิน-แดง-เขียว-เหลือง-ม่วง คนที่จะซื้อวัตถุดิบคนแรกก็คือ ม่วง
จากรูปด้านล่าง ราคาถ่านหินเริ่มต้นที่หน่วยละ 3 Elektro และน้ำมันเริ่มต้นที่หน่วยละ 2 Elektro หากสีม่วงจะซื้อถ่านหิน 2 หน่วยแรกจะราคาอยู่ที่ 3 Elektro หน่วย3ถึง5 ราคาอยู่ที่หน่วยละ 4 Elektro เป็นต้น

จังหวะกั๊กวัตถุดิบกัน เพื่อปั่นราคา เป็นอะไรที่มันส์จริงๆ

Phase4 ตั้งสถานีจ่ายไฟฟ้า(ขอเรียกว่าสร้างบ้านนะ) โดยที่แรกที่จะสร้างจะสร้างที่ไหนก็ได้ แต่ที่ต่อมาต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อรวมค่าตั้งสถานี ซึ่งถ้าอยู่ใน Step1 ค่าตั้งสถานีจะอยู่ที่ 10 Elektro ทั้งหมด ส่วนค่าเชื่อมต่อเราก็ลากเส้นจากจุดที่เรามีบ้าน(สถานีจ่ายไฟ) ไปยังที่ที่จะตั้งสถานีใหม่ รวมราคา คือค่าใช้จ่ายที่ต้องตั้งสถานีจ่ายไฟฟ้าใหม่ ซึ่งแต่ละคนจะตั้งกี่หลังก็ได้เท่าที่กำลังทรัพย์มี เอ้าลองมาดูตัวอย่างกัน
ตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่ายังอยู่ใน Step1 เล่นเป็นสีดำ (เรื่องเกี่ยวกับ Step เดี๋ยวบอกทีหลัง)

ตัวอย่างจากรูปด้านล่าง ต้องการจะสร้างบ้าน(สถานีจ่ายไฟฟ้า) ที่เมือง Nurnberg (อ่านว่า เนิร์นแบร์ก มั้ง) ผู้เล่นสีดำเริ่มคำนวนเส้นทางที่ถูกสุดเพื่อเชื่อมเครือข่ายจ่ายไฟฟ้า พบว่าถ้าเริ่มที่เมือง Wurzburg (อ่านว่า เวิร์ซบวก มั้ง) จากรูป จะเป็นเส้นทางที่ถูกที่สุด ไปยัง Nurnberg ใช้เงินค่าลากเส้นเชื่อมต่อ 8 Elektro (แต่ละเส้นมีราคากำกับไว้) เมือง Nurnberg ช่องตั้งสถานีราคา 10 Elektro ยังว่าง

ฉะนั้นราคาค่าตั้งสถานีใหม่ที่ Nurnberg รวมเป็นเงิน 8 + 10 = 18 Elektro



 ตัวอย่างสอง สมมติว่ายังอยู่ใน Step1 เล่นเป็นสีดำ (ก็บอกว่า Step เดี๋ยวบอกรอแป๊ป)

ตัวอย่างจากรูปด้านล่าง ต้องการจะสร้างบ้าน ที่เมือง Berlin (อ่านว่า เบอร์ลิน อันนี้อ่านถูกชัวร์) ผู้เล่นสีดำเริ่มคำนวนเส้นทางที่ถูกสุดเพื่อเชื่อมเครือข่ายจ่ายไฟฟ้า พบว่าถ้าเริ่มที่เมือง Fulda (อ่านไม่ออก) จากรูป จะใกล้ที่สุด แต่เพราะ Erfurt, Halle และ Leipzig (สามเมืองนี้ก็อ่านไม่ออก) มีคนอื่นสร้างบ้านไว้แล้ว และ Step1 จะอนุญาตให้สร้างบ้านได้แค่เมืองละหลังเท่านั้น เส้นทางที่ถูกที่สุด ไปยัง Berlin ต้องลากสายไฟฟ้า ผ่านเมืองสองเมือง (Erfurt และ Halle) ใช้เงินค่าลากสายไฟดังนี้

·         Fulda -> Erfurt = 13 Elektro
·         Erfurt -> Halle = 6 Elektro
·         Halle -> Berlin = 17 Elektro
รวมที่เมือง Berlin ค่าตั้งสถานีจ่ายไฟฟ้าราคา 10 Elektro

ฉะนั้นราคาค่าตั้งสถานีใหม่ที่ Berlin รวมเป็นเงิน 13+6+17+10 = 46 Elektro


การเลือกซื้อบ้านนั้นให้คนที่อยู่อันดับสุดท้ายเลือกซื้อก่อนเหมือนตอนที่ซื้อวัตถุดิบ แล้ววนมาจนถึงคนที่มีอันดับแรกสุด (แล้วที่ได้จัดอันดับว่าเป็นคนแรกใน Phase1 ทำเพื่ออะไรอะ - แซวเล่น)
แต่ละเมืองสามารถตั้งบ้านได้ 3 หลัง โดยมีราคาอยู่ที่ 10, 15 และ 20 ตามลำดับ และในหนึ่งเมืองผู้เล่นสามารถตั้งได้แค่ 1 หลังเท่านั้น ข้อจำกัดในการสร้างบ้านคือ บ้านราคา 10 สามารถตั้งได้ตั้งแต่อยู่ใน Step1 แต่ที่ราคา 15 ต้องให้เกมดำเนินถึง Step2 เสียก่อนจึงจะตั้งได้ และสุดท้ายที่ราคา 20 ต้องให้เกมมาถึง Step3 จึงจะซื้อได้ หมายความว่าตอนเริ่มเกมซึ่งอยู่ใน Step1 แต่ละคนต้องหาทำเลดีๆ เพราะถ้าหากถูกซื้อบ้านตัดหน้าจนต้องลากสายไฟยาวๆจะทำให้เสียค่าตั้งบ้านใหม่แพงมั่กๆ ดังตัวอย่างข้างบน โฮ่ๆๆ

ตัวอย่างเมืองต่างๆในแผนที่แต่ละเมืองจะสามารถสร้างบ้าน3หลัง Step1 สร้างได้เฉพาะราคา 10 Elektro Step2 สร้างหลังที่มีราคา 15 Elektro ได้ Step3 สร้างได้ทั้ง 3 ราคา


Phase5 เก็บเงินๆๆ phaseนี้ ให้แต่ละคนใช้วัตถุดิบที่มี (เอาวัตถุดิบไปทิ้งไว้ใน Bank หรือกองกลาง) แล้วจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้วเก็บค่าไฟฟ้าเข้า เอาเงินค่าไฟฟ้าจาก Bank จะกี่ Elektro ก็ตามตารางนั่นแหละ และการจ่ายไฟฟ้าเพื่อรับทรัพย์นั้น โรงไฟฟ้า 1 โรงสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ครั้งเดียวเท่านั้นนะ
ตารางรับทรัพย์ แม้ว่าจ่าย 0 หลังยังได้ตั้ง 10 Elektro 


นอกจากนั้นยังต้องจัดการบางอย่างเพื่อเตรียมเข้า phase1 ใหม่ ได้แก่
·         การหมุนเวียนโรงไฟฟ้า ให้โรงไฟฟ้าที่มีเลขมากสุดไปยัดใต้กองการ์ดโรงไฟฟ้า และเปิดการ์ดใหม่มาแทนที่ จัดลำดับโรงไฟฟ้าให้เรียบร้อย (ไอ้นี่ก็ลุ้นระลึกดีมั่กๆ)
·         เติมทรัพยากรตามตารางที่มีให้ในคู่มือการเล่น ถ้าวัตถุดิบใน Bank มีไม่พอ(แบบว่ากักตุนกันเยอะ) ก็ช่างมันเติมวัตถุดิบเข้าตลาดเท่าที่มี
ตารางการเติมวัตถุดิบ (ทรัพยากรพลังงาน) 


พอจบ Phase5 นี้ก็เริ่ม Phase1 ใหม่ ทำเช่นนี้จนจบเกม 
Step, การเปลี่ยน Step และการจบเกม
Step1 เป็น Stepแรกตั้งแต่เริ่มเล่น ข้อจำกัดคือเวลาตั้งสถานีจ่ายไฟฟ้าในแต่ละเมือง จะตั้งได้เฉพาะที่มีราคา 10 Elektro เท่านั้น
การเปลี่ยนไป Step2 เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่ง สร้างบ้านได้ 7 หลังขึ้นไป (สถานีจ่ายไฟฟ้า) โดยจะเริ่ม Step2 ที่ phase5 (ให้ทุกคนเล่น phaseนี้ ให้ครบก่อน)
Step2 เป็น Stepที่2 พอเริ่ม Phase นี้ เราสามารถสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าที่มีราคา 15 Elektro ได้
การเปลี่ยนไป Step3 เมื่อมีการเปิดการ์ด Step3 จากกองจั่วโรงไฟฟ้า คราวนี้ปฏิบัติการจะต่างจากที่เปลี่ยนไป Step2 คือ ให้ทำลายโรงไฟฟ้าที่โลว์เทคที่สุด(เลขน้อยสุด) คราวนี้จะเหลือโรงไฟฟ้าแค่ 6 โรงไว้ประมูล โดยจะเริ่ม Step3 ที่ phase5 เช่นเคย (ให้ทุกคนเล่น phase2/3/4 ให้ครบก่อนแล้วค่อยเริ่ม Step3)
Step3 เป็น Step ก่อนจบเกม พอเริ่ม Phase นี้ เราสามารถสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าที่มีราคา 20 Elektro ได้ สิ่งที่เปลี่ยนไปอีกคือการเรียงของโรงไฟฟ้าที่จะนำไปประมูล จะมี 6 โรง และสามารถประมูลได้ทั้ง 6 โรง เพราะแต่ก่อนมี Future Market แต่ยุคนี้ (Step3) ถือว่า ล้ำสมัยแล้ว จะจัดหาเทคโนโลยีไหน ก็จัดหามาได้ ที่เปลี่ยนไปอีกอย่างคือ phase5 แทนที่จะเอาโรงไฟฟ้าที่มีเลขมากสุดยัดใต้กอง แต่ให้พังโรงไฟฟ้าที่โลว์เทคฯที่สุดทิ้ง (เลขน้อยสุด) และเอาอันใหม่มาแทน
เกมจบ เมื่อมีใครสามารถสร้างบ้านได้ถึง 17 หลังหรือมากกว่า หรือตามจำนวนตามข้อปลีกย่อยทางด้านล่าง ให้ผู้เล่นทุกคนเล่นจนจบ phase4 (การสร้างบ้าน จะสร้างใน phase4) ใครสามารถจ่ายไฟฟ้าได้มากเมืองที่สุดเป็นผู้ชนะ ถ้าหากมีการเสมอใครถือเงินเยอะกว่าจะเป็นผู้ชนะ
ข้อปลีกย่อยในการเล่น
ตัวอย่างกฎพิเศษที่มักจะถูกมองข้าม เช่น ใน phase3 ถ้าจำนวนบ้าน(สถานีจ่ายไฟฟ้า) มีจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับเลขของโรงไฟฟ้าที่ตั้งขายใน Actual Market ให้พังโรงไฟฟ้านั้นทิ้ง แล้วเปิดโรงไฟฟ้าใหม่ขึ้นมา อย่าลืมจัดเรียงให้เรียบร้อย อารมณ์ของเกมประมาณว่า ธุรกิจขยายตัวขนาดนี้แล้ว โรงไฟฟ้าเก่าๆหนะไม่จำเป็นหรอก ตั้งขายคงไม่มีใครเอา ส่วนกฎอื่นๆนอกจากนี้ให้ไปหาอ่านเอาในคู่มือที่แถมมากะเกมละกันนะ
นอกจากนั้น กฎปลีกย่อยมีการเปลี่ยนแปลงหากจำนวนผู้เล่นเปลี่ยนไปอีกด้วย ซึ่งเท่าที่ลอกมาจากคู่มือ สามารถแปลและสรุปได้ดังนี้ครับ

ถ้าเล่น 2 คน มีข้อยกเว้นเยอะเอาเป็นว่า ถ้าจะเรามาเล่นกันค่อยอ่านคู่มือกันตอนนั้นละกัน >_<
ถ้าเล่น 3 คน ให้สุ่มเลือกโรงไฟฟ้าออกจากกองจั่วไป 8 โรง (ยกเว้นโรงไฟฟ้าหมายเลข 3-10 และโรงไฟฟ้าหมายเลข13)
ถ้าเล่น 4 คน ให้สุ่มเลือกโรงไฟฟ้าออกจากกองจั่วไป 4 โรง (ยกเว้นโรงไฟฟ้าหมายเลข 3-10 และโรงไฟฟ้าหมายเลข13)
ถ้าเล่น 5 คน ให้เกมจบลงถ้ามีใครคนใดคนหนึ่งสร้างบ้าน 15 หลังหรือมากกว่า
ถ้าเล่น 6 คน ตอนเริ่มให้เล่นกันแค่ 5 พื้นที่ (ซึ่งถ้าเล่น 6 คน ควรเล่นกัน 6 พื้นที่) การเริ่ม Step2 ให้เริ่มหากมีใครสร้างบ้านได้ 6 หลัง (ปกติคือ 7 หลัง) ให้เกมจบลงหากมีใครสร้างบ้านได้ 14 หลังหรือมากกว่า 
อธิบายวิธีการเล่นซะยืดยาว ดูเหมือนจะยุ่งยากแต่จริงๆแล้วเข้าใจง่าย เพราะอารมณ์ของเกม เหมือนเราบริหารโรงไฟฟ้าอยู่จริงๆ รวมถึงความสนุกที่ได้รับเมื่อได้เล่น รับรองว่าเกมนี้ซื้อมาคุ้มเงิน และก็เล่นได้ไม่เบื่อจริงๆครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น